เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นักวิเคราะห์ 2 คนที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องเกาหลีเหนือ ได้ออกมาวิเคราะห์ว่า คิม จองอึน ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือ อาจกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการ “ทำสงคราม”
พวกเขาบอกว่า คิม จองอึน ได้ยกเลิกแผนการปรองดองกับเกาหลีใต้ทั้งหมด รวมถึงมีแผนแก้รัฐธรรมนูญให้เกาหลีใต้เป็นศัตรูหมายเลข 1 และแสดงออกในทำนองว่า เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้เป็นรัฐเอกราชสองรัฐที่ทำสงครามกัน
อังกฤษแฉภาพ เรือขนส่งอาวุธจากเกาหลีเหนือไปรัสเซีย
เกาหลีใต้เผย ชาวเกาหลีเหนือแปรพักตร์เพิ่มขึ้น 3 เท่าในปี 2023
เปิดคลิปเกาหลีเหนือ ลงโทษวัยรุ่นแอบดูซีรีส์เกาหลีใต้
โรเบิร์ต คาร์ลิน อดีตนักวิเคราะห์ของนำสักข่าวกรองสหรัฐฯ (CIA) และซิกฟรีด เฮ็กเกอร์ นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ที่เคยไปเยือนเกาหลีเหนือหลายครั้ง บอกว่า “เราเชื่อว่า คิม จองอึน กำลังตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ในการทำสงครามเช่นเดียวกับปู่ของเขาในปี 1950”
พวกเขามองว่า การสื่อสารหลายอย่างของผู้นำคิมในระยะหลังมานี้มีความแตกต่างออกไปจากสิ่งที่เขาเคยทำ เช่น การประกาศส่งท้ายปีเก่าของเขาว่า “เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับว่า สงครามจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อบนคาบสมุทรเกาหลี”คำพูดจาก ปั่นสล็อตแตกทุกเกม
และเมื่อเข้าปี 2024 เกาหลีเหนือก็ยกระดับความตึงเครียด ด้วยการยิงปืนใหญ่มาทางเกาหลีใต้ ทดสอบขีปนาวุธเชื้อเพลิงแข็งชนิดใหม่ และทดสอบโดรนโจมตีใต้น้ำซึ่งคาดว่าจะบรรทุกอาวุธนิวเคลียร์ได้
แต่สิ่งที่ทำให้คาร์ลินและเฮ็กเกอร์มองว่าสงครามอาจเกิดขึ้น คือการประกาศละทิ้งเป้าหมายของการรวมชาติกันอย่างเป็นทางการ เพราะการกลับมารวมตัวกับเกาหลีใต้ถือเป็นกุญแจสำคัญในอุดมการณ์ของเกาหลีเหนือมาโดยตลอดนับตั้งแต่ก่อตั้งรัฐ
ปีเตอร์ วอร์ด นักวิจัยอาวุโสจากมหาวิทยาลัยกุกมิน กล่าวว่า “นี่ถือเป็นเรื่องใหญ่ โดยพื้นฐานแล้วมันจะเปลี่ยนแปลงหลักปฏิบัติทางอุดมการณ์หลักประการหนึ่งของระบอบการปกครองโดยพื้นฐาน”
คิม จองอึน กำลังจะทำลายมรดกของความร่วมมือและเป้าหมายดังกล่าวอย่างจริงจัง โดยนอกจากจะปิดช่องทางการทูตและวิทยุกระจายเสียงข้ามพรมแดนแล้ว เขายังประกาศว่าเขาจะรื้อถอนประตูรวมชาติ ซึ่งเป็นอนุสาวรีย์ในเขตชานเมืองเปียงยางด้วย
การวิเคราะห์ดังกล่าวสร้างความตื่นตระหนกไม่น้อยให้กับเกาหลีใต้และสหรัฐฯ และเกิดการถกเถียงในแวดวงนักวิเคราะห์
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีสงครามของคาร์ลินและเฮ็กเกอร์ โดยจากความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 7 คนจากเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ไม่มีใครสนับสนุนแนวคิดนี้เลย
คริสโตเฟอร์ กรีน จาก Crisis Group กล่าวว่า “การนำระบอบการปกครองทั้งหมดของเขาไปเสี่ยงกับความขัดแย้งที่อาจก่อให้เกิดความหายนะนั้นดูจะไม่ใช่เกาหลีเหนือเท่าไร พวกเขาเป็นแมกคิเวลเลียน (Machiavellian – (ผู้ที่ใช้เล่ห์เหลี่ยมอุบายทางการเมือง) ผู้โหดเหี้ยมมากกว่า”
กระนั้น สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญทุกคนเห็นพ้องต้องกันคือ การพูดเกี่ยวกับสงครามที่เพิ่มขึ้นของผู้นำคิมนั้นไม่อาจเพิกเฉยได้ และระบอบการปกครองของเขาก็ยังคงอันตรายอยู่ และแม้สงครามไม่น่าจะเกิดขึ้น แต่การโจมตีแบบจำกัดวงอาจเกิดขึ้นได้
อี ซอง-ฮยอน จากมูลนิธิจอร์จ เอช ดับเบิลยู บุช เพื่อความสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีน ชี้ให้เห็นว่า เกาหลีเหนือมีกำหนดจะเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติอีกครั้งในเดือน ก.พ. และยังขายกระสุนของตัวเองให้กับรัสเซียเพื่อทำสงครามด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ หากเกาหลีเหนือกำลังเตรียมพร้อมสำหรับสงคราม
ด้าน อังกิต แพนดา นักวิเคราะห์จากมูลนิธิคาร์เนอจีเพื่อสันติภาพระหว่างประเทศ กล่าวว่า “โดยทั่วไปแล้ว ผมกังวลเกี่ยวกับการโจมตีเกาหลีใต้อย่างจำกัดมากกว่า … การโจมตีในลักษณะนั้นจะมุ่งเป้าไปที่ดินแดนหรือกองกำลังทหารของเกาหลีใต้ แบบจำกัดขอบเขต” ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของการยิงกระสุนปืนใหญ่หรือการพยายามยึดครองเกาะที่อยู่ทางตะวันตกของคาบสมุทรเกาหลี
นักวิเคราะห์มองว่า เกาหลีเหนืออาจใช้วิธีการเชิงยั่วยุ เพื่อทดสอบขีดจำกัดของเกาหลีใต้ “เกาหลีเหนืออาจคาดหวังที่จะล่อให้เกาหลีใต้โจมตีตอบโต้กลับรุนแรงกว่าที่พวกเขายั่วยุ” ที่อาจจุดชนวนให้เกิดความรุนแรงและการต่อสู้ในวงกว้างได้
บางคนมองว่า การทำให้เกิดความกลัวเกี่ยวกับสงคราม เป็นหนึ่งในรูปแบบแผนการของคิม จองอึน
อี ซอง-ฮยอน กล่าวว่า “เมื่อดูประวัติศาสตร์ของเกาหลีเหนือ เกาหลีเหนือมักจะใช้การยั่วยุเพื่อดึงดูดความสนใจของประเทศอื่น ๆ เมื่อต้องการเจรจา”
นักวิเคราะห์ชี้ว่า มิตรภาพที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นของเกาหลีเหนือกับรัสเซียและการสนับสนุนทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องจากจีนในปีที่ผ่านมา อาจเพิ่มความกล้าได้กล้าเสียของเกาหลีเหนือ
แพนดาบอกว่า “สิ่งที่เราเห็นส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความเชื่อมั่นของเกาหลีเหนือที่มากขึ้นในความสามารถของตนเองและตำแหน่งทางภูมิศาสตร์การเมืองที่ได้รับจากรัสเซีย และการสนับสนุนจากจีน”
นักวิเคราะห์บางคนมองอีกว่า พฤติกรรมของ คิม จอง อึน ล้วนมุ่งเป้าไปที่การรักษาเสถียรภาพระบอบการปกครองของเขาเอง
ลีฟ-เอริก อีสลีย์ จากมหาวิทยาลัยอีฮวา กล่าวว่า “นี่ดูเหมือนจะเป็นการปรับเปลี่ยนทางอุดมการณ์เพื่อความอยู่รอดของระบอบการปกครอง ชาวเกาหลีเหนือตระหนักมากขึ้นถึงความล้มเหลวของประเทศคอมมิวนิสต์เมื่อเปรียบเทียบกับเกาหลีใต้”
เขามองว่า นโยบายที่เน้นไปที่การสร้างศัตรูจะสร้างความชอบธรรมให้กับการใช้จ่ายงบประมาณไปกับขีปนาวุธของผู้นำคิม ท่ามกลางรายงานความอดอยากแร้นแค้นที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ
การสร้างให้เกาหลีใต้อยู่ในฐานะศัตรูยังช่วยให้แก้ไข “ความไม่สอดคล้องกันทางความคิด” ของมุมมองชาวเกาหลีเหนือที่มีต่อเกาหลีใต้ได้ง่ายขึ้น นายวอร์ดชี้ให้เห็น
โซคีล พาร์ค จากลิเบอร์ตี องค์กรเอกชนที่ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวเกาหลีเหนือ เสริมว่า “เขาไม่ต้องการสงครามจริง ๆ หรอก มันเป็นการเดิมพันครั้งใหญ่เกินไป เพราะเขาจะไม่ได้อะไรเลยและสูญเสียทุกอย่าง”
เรียบเรียงจาก BBC
เปิดเงื่อนไข กาตาร์ พบ จีน ส่งผลต่อทีมไทย ลุ้นเข้ารอบ 16 ทีมเอเชียน คัพ 2023
ผลบอลเอเชียน คัพ 2023 ทาจิกิสถาน ตาม กาตาร์ เข้ารอบ 16 ทีม
กรมการจัดหางาน รับสาวไทยทำงานที่ญี่ปุ่น สมัครฟรี! ถึง 26 ม.ค. นี้